คลังเก็บรายเดือน: กันยายน 2019

เชื้ออีโคไล กับอาหารสตรีทฟู้ดในไทย

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาหารสตรีทฟู้ด หรืออาหารที่จำหน่ายอยู่ตามร้านค้าริมถนนที่อร่อย ดี และหลากหลายที่สุดในโลก เสน่ห์ของอาหารสตรีทฟู้ดคือราคาที่ย่อมเยา อาหารอันหลากหลายที่ปรุงสดใหม่ เดินไปกินไป หรือจะซื้อกลับบ้านก็ได้ง่ายแสนง่าย

แต่อาหารสตรีทฟู้ดในไทยอาจจะไม่ได้ถูกสุขอนามัยไปทุกร้าน เพราะจากการเก็บข้อมูลของสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจากกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย และผู้ใช้กฎหมาย โดยศึกษาจากอาหารริมบาทวิถี จำนวน 50 ตัวอย่าง ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์เกินค่ามาตรฐานถึง 21 ตัวอย่าง (42%) โดยเชื้อที่ตรวจพบส่วนใหญ่คือ เชื้ออีโคไล (E.coli) จำนวนถึง 19 ตัวอย่าง พบอาหารที่มีเชื้ออีโคไลมากที่สุด 5 เมนู ได้แก่

  1. ข้าวหมูแดง
  2. ข้าวหมูกรอบ
  3. ข้าวมันไก่
  4. ข้าวขาหมู
  5. ส้มตำไทย

ทำไมอาหารสตรีทฟู้ดถึงเจอเชื้ออีโคไล ?

อาหารที่เสี่ยงพบเชื้ออีโคไล คืออาหารที่ไม่ผ่านความร้อน จึงทำให้เชื้ออีโคไลเจริญเติบโตท่ามกลางภูมิอากาศร้อนชื้นในบ้านเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรระมัดระวัง นั่นคือความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำอาหาร อุปกรณ์ในการใส่อาหาร รวมไปถึงสถานที่ในการประกอบอาหาร และโต๊ะเก้าอี้ในร้านต่าง ๆ นอกจากนี้การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนไม่มากพอ การเก็บรักษาวัตถุดิบไม่ดีพอ ก็อาจมีส่วนทำให้เชื้ออีโคไลเจริญเติบโตระหว่างการเตรียมอาหารได้เช่นกัน

เชื้ออีโคไล อันตรายแค่ไหน ?
เชื้ออีโคไล (E.coli) เป็นเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร และเครื่องดื่ม โดยเชื้ออีโคไลมีหลากหลายสายพันธุ์ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายของเราก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ แต่อาการที่พบได้บ่อย และสังเกตได้ชัดเจน คือ อาการท้องร่วง จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้เข้าไปในร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เป็นต้น

หลีกเลี่ยงเชื้ออีโคไลในอาหารสตรีทฟู้ดได้อย่างไร ?

  1. เลือกซื้อ-บริโภคอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนที่เกินระดับจุดเดือด หรือ 100 องศาเซลเซียส
  2. หากเป็นเมนูที่ต้องใส่วัตถุดิบสด ๆ ไม่ผ่านความร้อน เช่น ผักผลไม้ ควรล้างให้สะอาดมากก่อนรับประทาน
  3. ไม่รับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ดิบ หรือไม่สุก 100%
  4. เลือกซื้ออาหารจากร้านที่ดูสะอาด น่าเชื่อถือ
  5. ก่อนทำอาหาร/กินอาหาร ล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหารด้วยมือโดยตรง

ไขมันในเลือดสูง ป้องกันได้

ไขมันในเลือดสูง

เนื่องจากโรคไขมันในเลือดสูงเป็นโรคที่ไม่ค่อยจะมีคนเอ่ยถึงกันมากเท่าไหร่ แต่ทว่าความร้ายแรงของมันค่อยข้างมีมากมาย เพราะถ้าเป็นแล้วโรคอื่นๆก็จะตามมาได้อย่างง่ายดาย ทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงตามมาได้ง่ายอีกด้วย  ดังนั้นเราควรดูแลหรือให้ความสำคัญเกียวกับโรคนี้ให้มาก ก่อนที่จะทำให้โรคอื่นๆตามมา

ประเภทของตับอักเสบ

ตับอักเสบเฉียบพลัน มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส และการใช้ยาบางชนิด โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ หมดแรง คลื่นไส้และอาเจียน ปัสสาวะมีสีเข้ม รวมไปถึงตาเหลือง หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะหายได้ภายใน 3-6 เดือน แล้วแต่อาการและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ตับอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการติดเชื้อหนักๆ หรือไม่ได้รับการดูแลให้หายในระยะแรกๆ ปล่อยให้เชื้อมีการพัฒนาต่อต้านกับยา หรือการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ โดยปล่อยให้ตับมีอาการอักเสบมากกว่า 6 เดือน ความน่ากลัวของโรคตับอักเสบเรื้อรังนี้ จะไม่แสดงอาการใดๆออกมาให้ผู้ป่วยรู้ตัว โดยเซลล์ของตับจะค่อยๆถูกทลายไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด
ภาวะตักเสบนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่ที่เกิดนั้นจะมีอัตราของผู้หญิงและผู้ชายในอัตราเท่าๆกัน โดยอาจเกิดจากการติดต่อได้จาก การใช้แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ หรือมีดโกนร่วมกับผู้อื่น หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบอยู่ อาจทำให้คุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B หรือ C ได้ อีกกรณีที่พบได้บ่อยคือ เด็กที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะ อาจจะได้รับเชื้อขณะคลอด กรณีเช่นนี้ จะไม่แสดงอาการในวัยเด็กแต่จะแฝงตัวอยู่ในร่างกายจนเป็นผู้ใหญ่ โดยบางรายได้รับเชื้อตับอักเสบจะไม่มีอาการและหายได้เอง แต่บางรายอาจจะกลายเป็นพาหะ และจำนวนไม่น้อยที่กลายเป็นไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

ภาวะไขมันสะสมในตับ นอกจากเชื้อไวรัสตับอักเสบแล้ว ภาวะไขมันสะสมในตับก็ยังเป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยไขมันในตับอาจทำให้ตับได้รับบาดเจ็บและเสื่อมสภาพ อาจพัฒนาจากตับอักเสบไปเป็นตับแข็ง หรือแม้แต่มะเร็งตับได้ในวัยสูงขึ้น ดังนั้นควรตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อตรวจเช็ค หากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆอาจจะทำให้เชื้อนั้นหายหมดไป

ดื่มเหล้ามาก เสี่ยงข้อสะโพกเสื่อม

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก เคยระบุว่า คนไทยดื่มเหล้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด เห็นได้จากสถิติอุบัติเหตุในทุกช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว นอกจากนี้ ผลจากการดื่มสุรายังทำให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การทะเลาะวิวาท และอาชญากรรม รวมถึงผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพด้วย โดยเฉพาะผลกระทบต่อกระดูกข้อสะโพก ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคข้อสะโพกมากขึ้น

สำหรับประเทศไทยนั้น มีอุบัติการณ์ของการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมปีละกว่า 25,000 ราย พบได้ทั้งหญิงและชาย พบมากขึ้นในอายุ 40 ปีขึ้นไป โรคข้อสะโพกเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัย โดยมักจะเกิดจากการสึกหรอของผิวข้อต่อระหว่างกระดูกเบ้าสะโพกและกระดูกต้นขา รวมไปถึงการทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขา กระดูกสะโพกหัก โรคหัวกระดูกสะโพกตาย

ส่วนวัยกลางคนจากสถิติ พบว่า มีปัญหากระดูกสะโพกเสื่อมได้เช่นกัน สาเหตุเนื่องมาจากดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพราะจะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงข้อสะโพกลดลง ทำให้กระดูกส่วนนั้นยุบหรือตาย กระดูกก็จะอ่อนแอทำให้ผิวเริ่มอักเสบ ขรุขระ ในบางคนทานยาที่มีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ปริมาณมาก ส่งผลให้เลือดหนืดไหลเวียนไม่ดีไม่สามารถเลี้ยงหัวกระดูกสะโพกได้

ทั้งนี้ เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อนั้น โดยปกติแล้วแนวแผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณหน้าต้นขา ซึ่งอาจจะเห็นแผลได้ง่าย แต่ด้วยเทคนิคการลงแผลแบบใหม่ จะมีการการซ่อนแผลผ่าตัดใต้ต่อขาหนีบ หรือที่เรียกว่า BIKINI Incision ซึ่งก่อนจะทำการผ่าตัด แพทย์จะใช้ Digital Template Surgical Planning วางแผนถึงตำแหน่งการตัดกระดูกและการวางข้อสะโพกเทียมในตำแหน่งที่ถูกต้อง เลือกขนาดของข้อเทียมให้เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล มีทั้งข้อโคบอลโครเมียม (Cobalt Chromium) หรือ ข้อเซรามิก (Ceramic) เพื่อการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และใช้แกนกระดูกข้อเทียมรุ่นใหม่ (STEM) เพื่อแก้ไขปัญหาข้อสะโพกเทียมจมเมื่อใช้ไปนานๆ

จากนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัดแบบแผลเล็ก แบบซ่อนแผลผ่าตัด (Minimally Invasive Surgery: MIS) โดยเข้าจากด้านหน้าข้อสะโพก (Direct Anterior Approach) ที่สำคัญ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่ แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ ด้วยเทคนิคซ่อนแผลผ่าตัด แนบเนียน เพราะแผลผ่าตัดจะอยู่ด้านหน้าบริเวณขาหนีบซ่อนใต้แนวกางเกงใน (Bikini Incision) ทำให้ไม่เห็นรอยแผลเมื่อใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดว่ายน้ำ เพราะเป็นการผ่าตามทิศทางธรรมชาติของผิวหนัง (Langer’s line) ตามแนวเส้นใยคอลลาเจนของผิวหนังชั้น dermis ซึ่งเป็นแนวที่ขนานไปกับแนวเส้นมัดกล้ามเนื้อ การผ่าตามแนวทิศทางธรรมชาติของผิวหนังจะทำให้การสมานตัวของแผลผ่าตัดดีขึ้น จึงลดการเกิดแผลเป็น หรือ คีรอยด์ (Keloid)

ขนาดของบาดแผลผ่าตัดนั้นจะมีความยาวประมาณ 3 – 4 นิ้ว ใต้ต่อขาหนีบตามแนวกางเกงในของผู้ป่วย และยังมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม (แบบเดิมแผลยาวประมาณ 6 – 8 นิ้ว เพราะจะทำการผ่าตัดจากทางด้านหลังหรือด้านข้าง ซึ่งต้องมีการตัดกล้ามเนื้อรอบสะโพก อาจทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อรอบสะโพกอ่อนแรง เดินกะเผลก (Limping) และมีอัตราการหลุดของข้อสะโพกหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้น)

การผ่าตัดแนวใหม่นี้มีความแม่นยำในการเช็กความยาวขาและตำแหน่งของข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้นเพราะเป็นการผ่าตัดในท่านอนหงาย สามารถใช้เครื่องเอกซเรย์แบบ C-arm ช่วยวางตำแหน่งข้อเทียมให้ถูกต้องมากขึ้น ตรวจความยาวขาทั้งสองข้างให้เท่ากันได้ง่ายในขณะผ่าตัด จึงลดปัญหาขาสั้นยาวไม่เท่ากันหลังผ่าตัด และสามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกพร้อมกัน 2 ข้างได้ในครั้งเดียว อีกทั้งระหว่างผ่าตัดมีระบบป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด แพทย์จะใส่ชุดผ่าตัดพิเศษเหมือนชุดมนุษย์อวกาศ ช่วยลดอัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้อีกด้วย

ข้อดีของการผ่าตัดแบบไม่ตัดกล้ามเนื้อนั้นจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว เจ็บปวดน้อยลง ลดอัตราการเกิดข้อสะโพกหลุดหลังการผ่า ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อสะโพกจะหลุด (No Hip Precaution) สามารถลุกเดินได้โดยไม่มีการเอียงของลำตัว (No Limping) กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัด ด้วยเครื่องหัดเดินในสภาวะไร้น้ำหนัก Alter G (Anti-Gravity Treadmill) ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดข้อสะโพกและข้อเข่า ช่วยให้ฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องกังวลถึงความเจ็บปวด